โครงการต้มยำโปรเจค: วิธีการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับช้าง

โครงการต้มยำที่ตั้งชื่อตามซุปต้มยำที่มีชื่อเสียงของวัฒนธรรมไทย เป็นโครงการอนุรักษ์ที่มีชุมชนเป็นพื้นฐาน ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างและส่งเสริมการอนุรักษ์ช้างในประเทศไทย โดยสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชที่ช้างมากิน ซึ่งเป็นพืชที่ใช้ในซุปต้มยำ

โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อปกป้องวิถีชีวิตในท้องถิ่นและระบบนิเวศที่พวกเราทุกคนต้องพึ่งพา พืชที่ช้างไม่กินเหล่านี้ (พริก, กระเทียม, ตะไคร้, ข่า, มะกรูด, หอม, และผักชี) ไม่เพียงแต่ปลูกง่ายและมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ แต่ยังช่วยสร้างความหลากหลายให้กับวิถีชีวิตในท้องถิ่นและสร้างงานให้กับชุมชนอีกด้วย

A Solution Rooted in Tradition and Innovation

Natural Elephant Deterrent

โครงการต้มยำซึ่งตั้งชื่อตามซุปของไทย ซุปต้มยำใช้วัตถุดิบที่ช้างกินไม่พืช เช่น พริก, กระเทียม, ตะไคร้, ข่า, มะกรูด, หอม, และผักชี – เป็นอาวุธลับของธรรมชาติในการป้องกันไม่ให้ช้างบุกกินพืชผล
เราได้ทำการทดสอบ พืชเหล่านี้กับพืชอื่น ๆ เช่น มะนาว, ขิง, คาโมมายล์, สะระแหน่, โหระพา, ขมิ้น และตะไคร้หอม จากการทดสอบเราสามารถสรุปได้ว่าพืชเหล่านี้ช้างไม่กิน และ เราสามาถช่วยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและยังช่วยส่งเสริมการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและช้าง และปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในเวลาเดียวกัน

ในประเทศไทย เกษตรกรสูญเสียรายได้จำนวนมากเมื่อช้างเข้ามากินพืชผล และช้างอาจเสียชีวิตเมื่อเกษตรกรป้องกันไร่ของพวกเขา 
โครงการต้มยำคือทางออกที่สร้างสรรค์และยั่งยืนสำหรับปัญหาของเกษตรกรไทยผ่านการปลูกพืชทางเลือกซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอาหารประจำชาติไทย ต้มยำ ไม่เพียงแต่พืชเหล่านี้เป็นพืชที่ช้างไม่กิน แต่ยังสามารถส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติระหว่างมนุษย์และช้างสายพันธุ์เอเชียอีกด้วย


ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

  • ส่วนผสมของต้มยำปลูกง่าย เป็นที่คุ้นเคยของคนไทย และมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
  • โครงการต้มยำเป็นโครงการที่ง่ายและไม่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีขั้นสูง ความเชี่ยวชาญ หรือการลงทุน เกษตรกรสามารถดำเนินชีวิตแบบดั้งเดิมของตนเองต่อไปโดยใช้ทักษะที่มีอยู่
  • วิธีการนี้ส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ ลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย และรักษาคุณภาพของดินและความหลากหลายทางชีวภาพ

สนับสนุนความสามารถของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน

Holistic Approach

  • โครงการของเราสนับสนุนคนในท้องถิ่นให้เป็นผู้นำในเรื่องของการอนุรักษ์ ลดความรุนแรงต่อช้าง และสร้างสมดุลระหว่างการปกป้องช้างกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน
  • โครงการต้มยำสร้างเครือข่ายเกษตรกรทั่วประเทศไทยที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน มีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งทางสังคมในการจัดการกับความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง และพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ในการทำเกษตรอินทรีย์และเกษตรยั่งยืน
  • การอยู่ร่วมกันระหว่างช้างและคนได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมผ่านกิจกรรมอนุรักษ์ที่มีฐานชุมชน เช่น การปลูกต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ การปลูกต้นไม้เพื่อช้าง และการผสมผสานกิจกรรมทางการเกษตรกับการใช้ผึ้งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ยั่งยืนในการป้องกันช้างเข้ามาในฟาร์ม และการจัดซาฟารีเพื่อสังเกตช้างในถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกเขา

สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ

ด้วยโครงการต้มยำ เกษตรกรสามารถสร้างความหลากหลายให้กับวิถีชีวิตและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ เช่น น้ำมันนวดตะไคร้ไทย ชาขิงขมิ้น และเทียนตะไคร้หอม ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ชุมชนเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ทางสังคม วัฒนธรรม และนิเวศวิทยาด้วย

Community-centric Success and Impact

การทดลองด้วยกล้องกับดัก

ในปี 2021 มูลนิธิพาช้างกลับบ้าน ได้ทำการทดลองกล้องดักจับภาพใกล้กับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยติดตั้งกล้อง 40 ตัวใน 20 พื้นที่เกษตร เพื่อศึกษาการปรากฏตัวและกิจกรรมของช้าง การวิจัยนี้ได้รวบรวมข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับพฤติกรรมของช้าง ประเภทของพืชผล และตัวแปรทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้เราเข้าใจปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และช้างในพื้นที่เกษตรกรรมได้ดีขึ้น

ในช่วงสองเดือน ช้างทำลายสับปะรดไป 96.5% แต่กลับทำลายพริกเพียง 5.2%, มะกรูด 4.8%, และตะไคร้หอม 2.5% และส่วนใหญ่เกิดขึ้นเพราะพืชเหล่านี้ปลูกใกล้กับสับปะรดและเกิดจากการเหยียบย่ำพืชผลเท่านั้น ส่วนตะไคร้ มะนาว และมะม่วงหาวมะนาวโห่ไม่ถูกทำลายโดยช้างเลย

โครงการต้มยำถูกตั้งชื่อตามซุปไทยรสเผ็ดที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งมีส่วนผสม (พริก, กระเทียม, ตะไคร้, ข่า, มะกรูด, หอม, ผักชี) ที่ไม่ดึงดูดช้าง

เครื่องหมายการค้าแฟร์เทรดและพืชทางเลือก

โครงการนี้ได้เริ่มกระบวนการรับรองมาตรฐานแฟร์เทรดและก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนแฟร์เทรดกุยบุรี ซึ่งเป็นก้าวแรกสำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นอิสระทางการเงินและความยั่งยืน นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในท้องถิ่นเปลี่ยนไปปลูกพืชที่ยั่งยืน เช่น ตะไคร้และข่า ซึ่งช่วยส่งเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนทางนิเวศวิทยา

การพัฒนาศักยภาพของชุมชนและการสร้างผลิตภัณฑ์

มูลนิธิพาช้างกลับบ้าน ได้จัดงานอบรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับเกษตรกร โดยให้พวกเขาพัฒนาความสามารถในการปลูกพืชที่เป็นมิตรกับช้าง และสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมา ขณะนี้มีการจำหน่ายในระดับนานาชาติผ่านเว็บช็อป Elephant & Co และในร้านฝากขายหลายแห่งทั่วประเทศไทย ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มพูนความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจที่ดีของชุมชน

ความท้าทายและการขยายผล

โครงการนี้ได้เจอกับความท้าทายมากมาย เช่น ภัยแล้งและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต อย่างไรก็ตาม วิธีการที่ค่อยเป็นค่อยไปของชุมชนในการเปลี่ยนไปปลูกพืชทางเลือกได้แสดงให้เห็นถึงความหวังในการเผชิญกับความท้าทายเหล่านี้ ยิ่งไปกว่านั้น ความสำเร็จของโครงการนี้ได้ก่อให้เกิดความสนใจจากหมู่บ้านใกล้เคียง และมีแผนที่จะขยายโครงการไปยังพื้นที่ใหม่

Help Elephants and Farmers Thrive!


ด้วยการสนับสนุนโครงการต้มยำ คุณจะมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรในการปลูกพืชที่ช้างไม่กิน ลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง และสร้างความมั่นคงในวิถีชีวิตของพวกเขา การบริจาคและรายได้จาก Elephant & Co จะถูกนำไปใช้ในการฟื้นฟูถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างและสร้างความมั่นคงทางสังคม เศรษฐกิจ และนิเวศวิทยาในหมู่บ้านรวมไทย เรามาร่วมกันทำให้ความอยู่ร่วมกันอย่างสันติเป็นไปได้!

A colorful illustration of two elephants surrounded by Tom Yum soup ingredients, with the words Tom Yum Project underneath
เล่าให้เพื่อนของคุณฟัง! ติดตามเราบนโซเชียลมีเดียและแบ่งปันโครงการต้มยำกับเพื่อนและครอบครัวของคุณ

ความพยายามของเราได้รับการสนับสนุนอย่างมากผ่านการร่วมมือกับพันธมิตรของเรา Trunks & Leaves ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกโครงการปลูกพืชทางเลือกเช่นกัน

News and updates

2022-11-29  Visit to the Sisaket Fairtrade Farmer Group
2022-05-28  Tom Yum & elephant steps
2022-04-02  The Tom Yum project inspires other people living with elephants

[wpd_form form_class=""] ‹ Back to previous page